หัวซ้าย
นกน้อยทำรังแต่พอตัว   ไม่อยากจนจงอย่าเป็นหนี้  ( อย่าคิดมีบัตรเครดิต ถ้ายังไม่พร้อม  จะเจอดอกเบี้ยมหาโหด )
กลับหน้าแรก   ขอคำปรึกษาเป็นการส่วนตัว โดยตรงกับนักกฏหมาย
เมนต์หลัก
 
หัวซ้าย
นกน้อยทำรังแต่พอตัว   ไม่อยากจนจงอย่าเป็นหนี้  ( อย่าคิดมีบัตรเครดิต ถ้ายังไม่พร้อม  จะเจอดอกเบี้ยมหาโหด )
Language
สมาชิก VIP Login ที่นี่ค่ะ
User login
user
pwd

เพิ่มเพื่อน
รับข่าวสาร
มาเป็นเพื่อนเรามีแต่ได้

วิทยุปลดหนี้

maps.google.com
 
พันธมิตร & ผู้สนับสนุน

อุปกรณ์นักสืบ
(ขาย-ให้เช่า)
เจ้ากรรมนายเวร
เจ้ากรรมนายเวร
เวรกรรมแก้ไม่ได้
แต่หยุดเวรกรรมได้
คน10จำพวกคบไม่ได้
ID: 0863222544
 
Welcome To  S Detective & lawyer Online
เปิดเผยความจริง  เพื่อให้เกิดความยุติธรรม

  เสียงพวกอ้างทวงหนี้ที่คิดว่าตัวเองเก่ง ถูกนักกฎหมายมืออาชีพสังสอนจนหมดรูป คลิ๊ก> > >

ขั้นตอนฟ้องคดีแพ่ง - คดีอาญา ต่อศาล .
รายละเอียด การเตรียมข้อมูล เอกสาร

   หลักการฟ้องคดีแพ่ง ตามกฎหมาย

   1 . จะส่งหนังสือแจ้งให้ชำระหนี้ ตามกำหนดเวลา ตามที่อยู่ในทะเบียนบ้าน
   2 . ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ เจ้าหนี้อาจส่งหนังสือมาทวงอีกครั้งก่อนฟ้อง หรืออาจฟ้องคดีเลยก็ได้
   3 . ในการฟ้องต้องให้ทนายเป็นผู้ดำเนินการหรือเจ้าหนี้จะฟ้องเองก็ได้ ( โดยส่วนใหญ่จะ
       ให้จ้างทนายให้ฟ้อง )
   4 . เมื่อยื่นฟ้องและศาลรับฟ้องแล้ว ศาลจะนัดวันชี้สองสถานหรือสืบพยานโจทก์ และผู้ฟ้อง
        ต้อง ส่งสำเนาคำฟ้องให้กับลูกหนี้ตามที่อยู่ทะเบียนบ้าน ลูกหนี้ต้องแก้ฟ้องโดยยื่นคำให้
        การภายใน ๑๕ วัน ถ้าไม่ยื่นถือว่าขาดนัดยื่นคำให้การ
   5 . ในวันนัดชี้สองสถานหรือสืบพยานโจทก์ ถ้าลำเลย (ลูกหนี้) ไม่มาถือว่าจำเลย (ลูกหนี้)
         ขาดขัดพิจารณา เจ้าหนี้จะขอให้ศาลพิจารณาไปฝ่ายเดียว และขอให้เจ้าหนี้ชนะคดีด้วย
   6 . เมื่อศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ชำระหนี้แล้ว ถ้าลูกหนี้ไม่อยู่ในศาล ศาลจะสั่งให้ส่งคำ
         พิพากษาและ/หรือคำบังคับให้ลูกหนี้ตามที่อยู่ในทะเบียนบ้าน ถ้าลูกหนี้ยังไม่ยอม
         ชำระหนี้ตามคำบังคับ เจ้าหนี้ก็จะขอให้ศาลตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดี เพื่อยึดทรัพย์
         ลูกหนี้ต่อไป   ทรัพย์ที่ถูกยึดได้ก็จะนำไปประมูลขายทอดตลาด นำเเงินมาชำระตามคำ
         พิพากษาต่อไป   แต่ถ้าลูกหนี้เห็นว่าคำพิพากษาของศาลไม่ถูกต้อง ลูกหนี้ตามคำพิพากษา
         สามารถยื่นอุทธรณ์ หรือยื่นฎีกาต่อศาลสูงได้อีก ภานใน 30 วัน
   7 . การอายัดเงินเดือน  เจ้าหนี้สามารถร้องขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดเงินเดือนของ
         ลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้   และเจ้าพนักงานบังคับคดีต้องทำหนังสือไปถึงที่ทำงานหรือ
         บริษัทที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาทำงานอยู่ เพื่อขออายัดเงินเดือนได้จำนวน 30 % ของ
         เงินเดือนที่ลูกหนี้ได้รับขณะนั้น   เมื่อลูกหนี้ถูกเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอายัดเงินเดือน
         แล้ว เจ้าหนี้รายอื่นจะมาอายัดเงินเดือนซ้ำอีกไม่ได้

    หลักการฟ้องคดีอาญา ตามกฎหมาย

   1 . จะส่งหนังสือแจ้งให้ชำระหนี้ ตามกำหนดเวลา ตามที่อยู่ในทะเบียนบ้าน
   2 . ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ เจ้าหนี้อาจส่งหนังสือมาทวงอีกครั้งก่อนฟ้อง หรืออาจฟ้องคดีเลยก็ได้
   3 . ในการฟ้องต้องให้ทนายเป็นผู้ดำเนินการหรือเจ้าหนี้จะฟ้องเองก็ได้ ( โดยส่วนใหญ่จะ
        ให้จ้างทนายให้ฟ้อง )
   4 . เมื่อยื่นฟ้องและศาลรับฟ้องแล้ว ศาลจะนัดวันชี้สองสถานหรือสืบพยานโจทก์ และผู้ฟ้อง
        ต้องส่งสำเนาคำฟ้องให้กับลูกหนี้ตามที่อยู่ทะเบียนบ้าน ลูกหนี้ต้องแก้ฟ้องโดยยื่นคำให้
        การภายใน ๑๕ วัน ถ้าไม่ยื่นถือว่าขาดนัดยื่นคำให้การ
   5 . ในวันนัดชี้สองสถานหรือสืบพยานโจทก์ ถ้าลำเลย (ลูกหนี้) ไม่มาถือว่าจำเลย (ลูกหนี้)
        ขาดนัดพิจารณา เจ้าหนี้จะขอให้ศาลพิจารณาไปฝ่ายเดียวและขอให้เจ้าหนี้ชนะคดีไม่ได้
        เพราะในการพิจรณาของศาลในคดีอาญาทุกคดี  ตามกฎหมายหมายศาลต้องทำการสืบ
        พยานต่อหน้าจำเลยทุกนัด ศาลจะมีคำพิพากษาโดยไม่ให้ให้โอกาสจำเลยต่อสู่คดีไม่ได้
        ดังนั้น ศาลจะต้องออกหมายจับตัวจำเลยให้มาศาลเพื่อฟังการพิจาณาในศาล และ/หรือ
        ให้โอกาสต่อสู่คดี   โดยศาลจะสั่งจำหน่ายคดีชั่วคราวจนกว่าจะได้ตัวจำเลยมาศาล
   6 . เมื่อจำเลยมาอยู่ต่อหน้าศาล ๆ ศาลจะต้องอ่านคำฟ้องโจทก์ หรือคำฟ้องของพนักงานอัยการ
        ให้ฟัง และศาลจะถามว่า จะให้การรับหรือไม่อย่างไร   ศาลจะถามว่าจำเลยมีทนายหรือไม่
        หรือจะให้ศาลจัดหาทนายความให้   หากจำเลยต้องการศาลจะดำเนินการให้

   7 . เมื่อศาลสืบพยานโจทก์และจำเลยไปจนครบแล้ว ศาลมีคำพิพากษาให้จำเลยมีความผิดหรือ
        ไม่ผิด    ถ้าพิพากษาว่าผิดลูกหนี้ก็สามารถยื่นอุทธรณ์ หรือยื่นฎีกาต่อศาลสูงได้อีกภายใน 30
        วัน

        ถ้าลูกหนี้ไม่อยู่ในศาลในวันอ่านคำพิพากษา ศาลจะสั่งให้เลื่อนการอ่านคำพิพากษาและออกหมาย
        จับจำเลยมาฟังคำพิพากษา   ในกรณีที่จำเลยมีประกันศาลจะสั่งปรับนายประกัน และสั่งให้นาย
        ประกันนำตัวจำเลยมาศาลในวันนัดครั้งต่อไป หรือเมื่อจับตัวจำเลยมาศาลได้

การยึดทรัพย์ในคดีแพ่ง และคดีอาญามีหลักการเดียวกัน

    เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหรือเจ้าพนักงานบังคับคดี จะทำการยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา
ได้    ต้องเป็นกรณีที่ทรัพย์สินนั้นเป็นของลูกหนี้ตามคำพิพากษาเท่านั้น  ดังนั้นเจ้าหนี้ต้องไปทำการ
สืบทรัพย์ของลูกหนี้มาให้ชัดเจนก่อนที่จะนำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปทำการยึด   ถ้าทรัพย์ นั้นป็นของ
ผู้อื่น เจ้าของทรัพย์สินนั้นมีอำนาจไม่ให้ทำการยึดได้ตามกฎหมาย ป วิ แพ่ง มาตรา ???   หากขืน
ทำการยึดไปเจ้าของทรัพย์ที่แท้จริงจะฟ้องทั้งเจ้าหนี้และเจ้าพนักงานบังคับคดีให้ชดใช้ค่าเสียหายได้

การฟ้องคดีบัตรเครดิตที่ผิดพลาด

   เกิดจากความประมาทเลินเล่อของเจ้าหนี้และนักกฎหมาย หรือ ทนายความที่รับจ้างฟ้องคดีบัตร
เครดิตที่คิดว่า " ลูกหนี้ไม่ได้เรียนรู้กฎหมาย จะทำอย่างไรก็ทำได้" ขอให้ฟ้องและลูกหนี้บัตรเครดิต
ไม่ได้ต่อสู้ก็ใช้ได้แล้ว เพราะอย่างไรศาลต้องพิพากษาให้ชนะคดีแน่นอน นี้ละที่เรียกว่า " ใครรู้กฎ
หมายก็ย่อมได้เปรียบ   ใครไม่รู้กฎมายก็ย่อมเสียเปรียบ "


    ถ้าลูกหนี้บัตรเครดิตถูกฟ้องและเข้าต่อสู้แล้ว ก็อาจชนะคดีโดยเอาเทคนิคเรื่อง มูลคดีและมูลหนี้
ยกขึ้นต่อสู้
บริษัทหรือธนาคารผู้ออกบัตรเครดิต ( โจทก์ ) ได้ดังคำพิพากษาฎีกาที่ยกขึ้นนี้  ลูกหนี้ก็ไม
่ใช้หนี้ให้กับเจ้าหนี้บัตรเครดิตโดยไม่ผิดกฎหมาย
 เพราะมีกฎหมายรับรองให้ลูกหนี้สามารถทำได้

   หรือลูกหนี้อาจยกเอาอายุความขึ้นต่อสู้ได้ รวมทั้งดอกเบี้ย เบี้ยปรับ ค่าธนนมเนียม ค่าใช้วงเงิน
ถึงแม้จะฟ้องถูกศาล   การยกข้อต่อสู้ต่างๆของลูกหนี้ ถือว่าเป็นสิทธิโดยชอบตามกฎหมาย และเป็น
การช่วยให้ลูกหนี้มีระยะเวลาหายใจ ในการหาเงินมาใช้หนี้ตามที่ศาลจะมีคำพิพากษาต่อไป

ผู้จัดทำขอสงวนลิขสิทธิข้อมูลที่ผู้ขอรับไปทั้งหมดตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิและทรัพย์สิน
ทางปัญญาที่จะแก้ไข เปลี่ยบแปลง อนุญาต และอื่นๆ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากผู้จัดทำ
เป็นลายลักษณ์อักษรเท่านั้น
หรือนำไปเผยแพ่โดยไม่คิดมูลค่าหรือค่าบริการใดๆ

    ข้อมูลที่ขอรับไป เป็นเพียงแนวทางคำพิพากษาฎีกา และหลักกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ผู้ที่ขอรับไป
ต้องนำไปปรับใช้กับเหตุกรณีที่เกิดขึ้นกับผู้ขอรับเอง .. ซึ่งสามารถนำไปเป็นแนวทางปรึกษานัก
ฏฎหมาย ทนายความผู้รู้กฎหมาย  เพื่อใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป

จะทำอะไรขอให้ปรึกษาผู้รู้กฎหมายหรือทนายความปลอดภัยที่สุด
ยินดีให้คำปรึกษากับทุกคนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม เขียนข้อความได้ที่นี่ >>

ขณะนี้มีคน online อยู่ 195 ท่าน