หัวซ้าย
นกน้อยทำรังแต่พอตัว   ไม่อยากจนจงอย่าเป็นหนี้  ( อย่าคิดมีบัตรเครดิต ถ้ายังไม่พร้อม  จะเจอดอกเบี้ยมหาโหด )
กลับหน้าแรก   ขอคำปรึกษาเป็นการส่วนตัว โดยตรงกับนักกฏหมาย
เมนต์หลัก
หัวซ้าย
นกน้อยทำรังแต่พอตัว   ไม่อยากจนจงอย่าเป็นหนี้  ( อย่าคิดมีบัตรเครดิต ถ้ายังไม่พร้อม  จะเจอดอกเบี้ยมหาโหด )
Language
สมาชิก VIP Login ที่นี่ค่ะ
User login
user
pwd

เพิ่มเพื่อน
รับข่าวสาร
มาเป็นเพื่อนเรามีแต่ได้

วิทยุปลดหนี้

maps.google.com
 
พันธมิตร & ผู้สนับสนุน

อุปกรณ์นักสืบ
(ขาย-ให้เช่า)
เจ้ากรรมนายเวร
เจ้ากรรมนายเวร
เวรกรรมแก้ไม่ได้
แต่หยุดเวรกรรมได้
คน10จำพวกคบไม่ได้
ID: 0863222544
 
Welcome To  S Detective & lawyer Online
เปิดเผยความจริง  เพื่อให้เกิดความยุติธรรม
     
 

ถูกเจ้าหนี้ตามยึดทรัพย์

ประมวลกฏหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ลักษณะ 2
การบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง
หมวด 1 หลักทั่วไป

   มาตรา ๒๗๑ .. ถ้าคู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายแพ้คดี (ลูกหนี้ตามคำพิพากษา).. มิได้ปฏิบัติตาม
คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลทั้งหมดหรือบางส่วนคู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะ (เจ้าหนี้ตาม
คำพิพากษา) .. ชอบที่จะร้องขอให้บังคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นได้ภายในสิบปีนับแต่วันมีคำ
พิพากษาหรือคำสั่ง โดยอาศัยและตามคำบังคับที่ออกตามคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น

ก่อนอื่นขอบอกข่าวดีกับท่านสามาชิกทุกท่าน

  ขณะนี้มีกฎหมายใหม่ออกมาช่วยลูกหนี้ทั้งหลายให้เป็นไท รอกพ้นจากเจ้าหนี้จองอำมหิตจอมขี้โกง
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ แพ่ง มาตรา ๒๘๕ .. เจ้าหนี้จะยึดทรัพย์สินลูกหนี้ที่มีราคา
รวมกันไม่เกิน ๕๐,๐๐๐ บาทไม่ได้
และเครื่องมือเลี้ยงชีพไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาทไม่ได้เช่นกัน
ดูมาตรากฎหมายที่ออกใหม่สดๆ ร้อยๆที่นี่... รู้แล้วรีบบอกเพื่อนๆ ( สวรรค์ลงโทษเจ้าหนี้จอมขี้โกง
แล้ว ) จะดูทั้งหมดที่นี่ครับ

เมื่อศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ใช้หนี้ ลูกหนี้จะทำอย่างไร

    เมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการทางศาลจนมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำเลย (ลูกหนี้) ชดใช้ค่าเสียหาย
ในคดีแพ่งให้เจ้าหนี้
    ต่อไปเจ้าหนี้ต้องดำเนินการให้จำเลยชดใช้ตามคำพิพากษา .. มีขั้นตอนดังนี้
๑ . ยื่นคำร้องขอสำเนาและรับรองคำพิพากษาในคดี ( ส่งคำพิพากษา และคำบังคับให้ลูกหนี้ )
๒ . สืบหาทรัพย์ของลูกหนี้ ที่ลูกหนี้หรือผู้อื่นครอบครองอยู่ ... หรือที่ยักย้ายถ่ายโอนไปให้กับผู้อื่น
     เพื่อหลบเลี่ยงการชำระหนี้ .. ไม่ว่าทรัพย์สินนั้นจะเป็นบ้าน ที่ดิน รถ เครื่องใช้ ที่เป็นของ
     ลูกหนี้ภริยา ลูก รวมทั้งญาติพี่น้องและบุคคลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ยกเว้นของใช้ส่วนตัวของลูกหนี้
๓. เมื่อทราบทรัพย์สินของจำเลยแล้ว .... ตั้งเรื่องขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดี .. ไปยึดทรัพย์นั้น
    มาขายทอดตลาด   โดยเจ้าหนี้ต้องเป็นผู้นำยึด หรือมอบอำนาจให้ผู้แทนไปยึดแทน
๔. ไปตามนัดของเจ้าพนักงานบังคับคดีในวันนัดขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึด
๕ . ถ้ายึดมาแล้วและขายทอดตลาดได้เงินไม่พอใช้หนี้  เจ้าหนี้ก็สามารถติดตามยึดทรัพย์ของ
      ลูกหนี้ได้อีกภายในเวลา ๑๐ ปีนับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษา

< < เจ้าหนี้ระวัง. อาจคิดคุก .สูญหนี้ได้ > >
การยึดทรัพย์ของเจ้าหนี้ อาจได้ไม่คุ้มเสีย

   เจ้าหนี้มักจะให้ทนายความหรือผู้รับมอบอำนาจเป็นผู้ดำเนินการ  พวกที่รับจ้างยึดทรัพย์จะ
อ้างว่าสามารถทำได้ตามกฏหมาย และจะเรียกค่ายึดตามราคาทรัพย์

  แต่พวกนี้ก็ต้องหาทางที่ง่ายๆ เสียเวลาน้อย  โดยใช้วิธีที่เรียกว่า " ดำดิน " คือ ผิดขั้นตอนที่
กฎหมายกำหนดไว้ให้ทำได้ " เรียนง่ายๆว่าผิดกฎหมายนั่นเอง "

   พวกนี้กล้าที่จะ " ดำดิน "   เพราะ ส่วนใหญ่แล้วลูกหนี้หรือคนที่ครอบครองทรัพย์หรือญาติๆ
ของลูกหนี้ จะไม่รู้ขั้นตอนที่กฎหมายในการยึดทรัพย์และบังคับ .. เมื่อไม่รู้ก็จะอ้างกฎหมาย อ้าง
คำพิพากษาของศาล  และก็จะเจ้าหน้าที่บังคับคดีมาด้วย  ถ้าลูกหนี้หรือญาติๆ เห็นเจ้าหนี้นำ
เจ้าพนัก งานบังคับและตำรวจมาก็จะกลัวก่อนแล้ว  ประกอบกับลูกหนี้และคนเหล่านั้นไม่รู้ขั้น
ตอนของการยึดทรัพย์ตามที่กฏหมายกำหนด ...จึงทำให้ยึดทรัพย์ได้ง่ายๆ โดยชี้ที่ทรัพย์ภายใน
บ้านลูกหนี้ก็สามารถยึดได้แล้วตามใจชอบ ( ไม่ว่าทรัพย์นั้นจะเป็นของใคร )

  แต่ถ้าเจอกับลูกหนี้หรือญาติที่รู้กฏหมายและขั้นตอนการยึดแล้ว..ก็ไม่มีโอกาสที่จะได้ทรัพย์สิน
ของลูกหนี้ไป..และอาจจะต้องถูกดำเนินคดีอาญาฐานปฏิบัติหน้าที่ หรือกระทำการโดยมิชอบด้วย
กฏหมาย .รวมทั้งตัวเจ้าหนี้ด้วย ..และอาจจะต้องชดใช้ค่าเสียหายหรือค่ายอมความนอกศาลมาก
กว่า ที่ลูกหนี้เป็นหนี้ก็ได้

..ดังนั้นจึงขอเตือนเจ้าหนี้ให้ระวังเรื่องนี้เอาไว้ด้วย ..อย่าคิดว่าจะมีคำพิพากษาอยู่ในมือแล้วจะ
เที่ยวไปรังแกลูกหนี้ ตามคำแนะนำของพวกทนายหรือพวกคนมีสีต่างๆ . จะทำให้เดือนร้อนภายหลัง
เพราะพวกยึดทรัพย์และเจ้าพนักงานบังคับคดี เป็นเพียงตัวแทนเจ้าหนี้เท่านั้น  ถ้าพวกนี้ไปทำผิด
กฎหมายเจ้าหนี้ก็ต้องร่วมรับผิดชอบด้วย จะปฏิเสธไม่ได้เลย

.แต่ถ้าไม่อยากรับผิดชอบร่วมกับพวกนี้ ... " จะแนะนำให้ "

ถูกเจ้าหนี้ตามยึดทรัพย์

.. ลูกหนี้จะมีทางต้องสู้ไม่ให้ถูกยืดทรัพย์ได้อย่างไร .

    ลูกหนี้ได้อ่านข้อความที่เตือนเจ้าหนี้แล้ว .. คงพอเข้าใจได้ว่าการบังคับคดียึดทรัพย์ลูกหนี้ตาม
คำพิพากษาของศาลเขาทำกันอย่างไร .และมีข้อห้าม ข้อควรระวัง ขั้นตอนอย่างไร

    สำหรับท่านที่พอรู้กฎหมายบ้างก็อาจจะรู้วิธีที่ไม่ให้ถูกยึดทรัพย์ได้แล้ว  แต่ท่านที่ยังไม่รู้ก็มาดูกัน
ต่อว่าจะทำอย่างไร  ก่อนที่จะรู้เรื่องวิธีต่อสู้เจ้าหนี้ต้องรู้ว่าหนี้ที่มีการฟ้องคดีกันนั้น จะมีทั้งหนี้ถูก
กฎหมายและหนี้ไม่ถูกกฎหมาย

 ๑ . หนี้ที่กูกกฎหมาย คือหนี้ที่เกิดจากความรับผิดตามกฎหมาย เช่น
    ก. ทำให้ทรัพย์สิน หรือร่างกาย หรือชีวิต ของผู้อื่นได้รับความเสียหาย
    ข. กู้ยืมเงิน  เช่าบ้าน เช่าซื้อ  เช่าที่ดิน  ฝากทรัพย์ จำนอง  จำนำ  ขายฝาก  ขับไล่
    ค. สัญญาต่างตอบแทน  สัญญาซื้อขาย  ค้ำประกัน  จ้างทำของ  จ้างแรงงาน
    ง. ซื้อสินค้า  เช็ค  ตั๋วเงิน  ตั๋วสัญญาใช้เงิน  บัตรเครดิต อื่นๆ
 ๒ . หนี้ที่ไม่ถูกกฎหมาย คือมีหนี้ที่เกิดจริง แต่หนี้นั้นไม่อาจจะฟ้องคดีได้ทั้งหมดหรือบางส่วน เช่น
   ก. หนี้ตามข้อ ๑ ( ก ข ค ง ) ที่เกิดขึ้นโดยไม่มีมูลหนี้กันจริง หรือจะมีหนี้จริงก็เป็นบ่างส่าน ซึ่งผู้
       เป็นเจ้าหนี้หรือผู้ที่เสียหายต้องร่วมรับผิดชอบในเหตุและมูลหนี้ที่เกิดด้วย
   ข. หนี้การพนัน  แชร์  หวยใต้ดิน
   ค. หนี้ตามข้อ ๑ ( ก ข ค ง ) ที่เกิดจากใช้กลอุบาย . หลอกลวง . ปลอมแปลง เอกสารให้ได้มาซึ่ง
       ทรัพย์สินเงินทอง.. สิทธิต่างๆ
   ง. หนี้ที่กฎหมายกำหนดว่าต้องทำให้ถูกต้องตามแบบที่กฎหมายกำหนดแล้วไม่ทำตามแบบ
หนี้ทั้งถูกกฎหมายและไม่ถูกกฎหมายนั้น . อาจถูกเจ้าหนี้หรือผู้ได้รับความเสียหายฟ้องคดีได้
ต่อไปถ้าลูกหนี้ไม่ต่อสู้คดีในศาล ก็ต้องให้ฝ่ายเจ้าหนี้ที่ฟ้องคดีชนะไป และเจ้าหนี้ก็จะบังคับยึด
ทรัพย์

แต่ถ้าลูกหนี้เข้าไปต่อสู้กับเจ้าหนี้ในศาล และฟ้องกลับเจ้าหนี้ด้วย  ตัวลูกหนี้เองอาจชนะคดี
และกลับมาเป็นเจ้าหนี้แทนตัวเจ้าหนี้ที่ฟ้องได้อีก หรืออาจใช้หนี้ที่เป็นความจริงเท่านั้น ... .ถ้าลูกหนี้ไม่มีทางที่จะต้องสู้เจ้าหนี้  หรือไม่มีเงินจะจ้างทนาย  ก็ต้องรองให้ศาลมีคำพิพากษา
ให้แพ้คดี และมีการบังคับคดียึดทรัพย์

คำเตือน   ลูกหนี้ควรที่จะต้องสู้คดีกับเจ้าหนี้ เพราะถ้าไม่ต่อสู้ก็อาจจะถูกเจ้าหนี้อ้างต่อศาลว่า
ลูกหนี้มีหนี้เท่านั้นเท่านั้น นำหลักฐานที่ไม่เป็นจริงมาฟ้อง และเบิกความโกหกต่อศาล .ซึ่งศาล
เองอาจจะไม่รู้ข้อเท็จจริงที่เจ้าหนี้นำมาฟ้องก็ได้ . ศาลก็ต้องพิพากษาให้ฝ่ายเจ้าหนี้ชนะคดี

  แต่ถ้าลูกหนี้เข้าต่อสู้กับเจ้าหนี้  ลูกหนี้อาจใช้หนี้ตามมูลหนี้ที่เป็นจริง  และอาจฟ้องเจ้าหนี้เข้า
คุกฐานฟ้องเท็จ ปลอมแปลงเอกสาร  เบิกความเท็จ  ฉ้อฉล  ถ้าเจ้าหนี้รู้ว่าตัวเองผิดที่แอบอ้างฟ้อง
เท็จและถูกลูกหนี้ฟ้องกลับเอาผิดทางคดีอาญา
 เจ้าหนี้ก็อาจจะขอเจรจากับลูกหนี้เพื่อให้ถอนฟ้องคดี
หรืออาจยอมเสียค่ายอมความนอกศาล หรืออาจจะยกหนี้ให้ทั้งหมดให้กับลูกหนี้

ลูกหนี้จะมีทางต้องสู้ไม่ให้ถูกยืดทรัพย์ได้อย่างไร .

    เมื่อผ่านขั้นตอนทางคดีมาแล้ว ถ้าไม่ต่อลู้คดีก็ต้องถูกคำพิพากษา และก็มาถึงขั้นต้อนบังคับคดี
ก็จะมีขั้นตอนที่กล่าวมาข้างต้น

   เมื่อเจ้าหนี้นำเจ้าพนักงานบังคับคดีมาถึงบ้านลูกหนี้   ลูกหนี้จะไม่ยอมให้เจ้าพนักงานบังคับคดี
เข้าไปในบ้านไม่ได้   ถึงว่าลูกหนี้ขัดขวางการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานขณะปฏิบัติหน้าที่  เจ้าพนัก
งานก็มีอำนาจที่จะทำลายสิ่งกีดขวางเข้าไปได้อาจถึงขั้นต้องทำลายกุญแจหรือประตูก็ได้

   กรณีที่ลูกหนี้มีทรัพย์สินเป็นที่ดิน  บ้านพร้อมที่ดิน  รถยนต์  ทีวี  ตู้เย็น และอื่นๆ อย่าพยายาม
ยักย้ายถ่ายโอนโดยไม่รู้กฏหมายจะทำให้ถูกดำเนินคดีอาญาและติดคุกฐานโกงเจ้าหนี้ได้

   มิใช้ลูกหนี้จะหมดหนทางที่จะรักษาทรัพย์สินของเองที่ทำมาหาได้ ยังมีหนทางที่จะรักษาทรัพย์สิน
เอาไว้โดยถูกต้องตามกฏหมายจะอยู่ในบ้านที่ถูกยึดต้องไปได้ไหม  ถ้าอยู่ได้จะอยู่ได้กี่ปี จะขายบ้าน
และทรัพย์สินอื่นๆ ระหว่างถูกยึดได้หรือไหม ( มีทางออกได้ทั้งนั้น )

    เจ้าหนี้เองก็ยังไม่รู้ว่าลูกหนี้จะมีทางทำได้  เพราะเจ้าหนี้และพวกที่รับจ้างตามยึดมัวแต่ย่ามใจ
ว่าตัวเองมีคำพิพากษาของศาลแล้วจะทำอะไรก็ได้ถูกกฏหมายไปหมด  จึงทำให้ไม่รู้ข้อกฏหมาย
และข้อปฏิบัติที่สำคัญๆ ไป  ความที่ย่ามใจว่าตัวเองรู้กฎหมายจะทำเจ้าหนี้ให้คิดคุกโดยไม่รู้ตัว
และอาจจะต้องสูญเสียหนี้และเงินอีกต่างหากด้วย

คำเตือนที่ลูกหนี้ควรระวังให้ดี

   มีกฎหมายออกใหม่เรื่องการขายทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้ ( บ้านและที่ดิน )  ถ้าลูกหนี้หลงกล
ไปทำประนอมหนี้ หรือปรังโครงสร้างหนี้ หรือไม่ได้ต่อสู้คดีในศาลและเจัาพนักงานยึดบ้านและที่ดิน
ออกขายทอดตลาดและมีผู้ประมูลซื้อได้แล้ว  กฎหมายใหม่ให้ผู้ซื้อทรัพย์จากการประมูลเป็นเจ้าหนี้
ตามคำพิพากษาที่จะร้องขอให้ศาลขับไล่ลูกหนี้พร้อมทั้งบริวารออกไปได้ทันที่ภายใน ๓๐ วัน

    ดังนั้นลูกหนี้ทั้งหลายที่คิดว่า ตัวเองเก่งไม่ต้องหาทนายหรือนักกฎหมายมาช่วย และเชื่อคำพูด
ว่านล้อมของฝ่าย สินเชื่อหรือทนายของเจ้าหนี้ จงระลึกเอาไว้ว่า " สิ่งที่ทำมาทั้งชีวิตก็หมดไปกับ
ความหยิ่งผยองของตัวเอง "
( ที่เตือนก็เพราะเป็นห่วง ลูกหนี้ทุกคน ) กฎหมายใหม่ที่ออกมานี้ มีทั้ง
ให้คุณกับลูกหนี้ และให้โทษกับลูกหนี้  การรู้กฎหมายจึงต้อง รู้ให้จริง ใช้ให้ถูกที่ถูกเวลาถึงจะได้ผล
จะอาศัยแต่เพรียงอ่านตัวบทกฎหมายอย่างเดียวและเอามาใช้อ้างไม่ได้ จะต้องรู้ทุกแง่มุมในตัว
บทกฎหมายอื่นๆ ประกอบด้วยจึงจะได้ผล

   แต่ถ้าลูกหนี้จะหลบเจ้าหนี้หรือไม่หลบเจ้า หรือเอาทรัพย์ไปซ่อนไปขายเพื่อหนีหนี้ ก็อาจทำได้
เช่นเดียวกัน  แต่ต้องระมัดระวังให้ดีๆ  กฎหมายก็อาจให้ทำได้แต่ต้องอยู่ในขอบเขต หรือถ้าจะทำ
แบบ " ดำดิน " ก็ได้ไม่ว่ากัน  แต่ก็ระมัดระวังด้วยคุกจะมาเยือน  ควรปรึกษากับผู้รู้ทางด้านนี้จะดี

จะทำอะไรขอให้ปรึกษาผู้รู้กฎหมายหรือทนายความปลอดภัยที่สุด
ยินดีให้คำปรึกษากับทุกคนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม เขียนข้อความได้ที่นี่ >>

เมนต์หลัก


 
 

 
 
 

ขณะนี้มีคน online อยู่ 144 ท่าน