หัวซ้าย
นกน้อยทำรังแต่พอตัว   ไม่อยากจนจงอย่าเป็นหนี้  ( อย่าคิดมีบัตรเครดิต ถ้ายังไม่พร้อม  จะเจอดอกเบี้ยมหาโหด )
กลับหน้าแรก   ขอคำปรึกษาเป็นการส่วนตัว โดยตรงกับนักกฏหมาย
เมนต์หลัก
หัวซ้าย
นกน้อยทำรังแต่พอตัว   ไม่อยากจนจงอย่าเป็นหนี้  ( อย่าคิดมีบัตรเครดิต ถ้ายังไม่พร้อม  จะเจอดอกเบี้ยมหาโหด )
Language
สมาชิก VIP Login ที่นี่ค่ะ
User login
user
pwd

เพิ่มเพื่อน
รับข่าวสาร
มาเป็นเพื่อนเรามีแต่ได้

วิทยุปลดหนี้

maps.google.com
 
พันธมิตร & ผู้สนับสนุน

อุปกรณ์นักสืบ
(ขาย-ให้เช่า)
เจ้ากรรมนายเวร
เจ้ากรรมนายเวร
เวรกรรมแก้ไม่ได้
แต่หยุดเวรกรรมได้
คน10จำพวกคบไม่ได้
ID: 0863222544
 
Welcome To  S Detective & lawyer Online
เปิดเผยความจริง  เพื่อให้เกิดความยุติธรรม
     
 

ประนีประนอมยอมความ
ก่อนที่จะมีการเจรจาประนอมหนี้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ ๑ ( นิติกรรม ม. ๑๔๙ - ๑๕๓)

    การเจรจาประนอมหนี้จะมีขึ้นได้ ต้องเกิดมีมูลหนี้กันจริงและบังคับได้ตามกฎหมายก่อน
 ตามประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ ๑ ( นิติกรรม ม. ๑๔๙ - ๑๕๓)

   เมื่อฝ่ายใดผิดสัญญากฎหมายถือว่าฝ่ายนั้นเป็นลูกหนี้  หนี้ในกฎหมายนั้นไม่ใช้เฉพาะหนี้เงิน
เท่านั้นหมายความรวมถึงหนี้ที่ทำสัญญา และไม่ได้ทำสัญญา ( ตกลงด้วยปากเปล่า )    แม้แต่ในเรื่อง
ครอบครัว หรือมรดก หรือแม้แต่มีผมากระทำให้เราเสียหายจะโดยจงใจ หรือประมาทก็ตามกฎหมาย
ถือว่าเป็นการละเมิดแล้ว ตาม ปพพ ๔๒๐ ผู้กระทำละเมิดถือว่าตกเป็นลูกหนี้แล้ว    ผู้ถูกกระทำกฎ
หมายถือว่าเป็นผู้เสียหายหรือเจ้าหนี้ ตาม ปพพ. ๑๙๔ แล้ว

     ตัวอย่าง
      นาย ก. ถูก นาย ข. ตีหัว นาย ก. เป็นผู้เสียหาย นาย ข. เป็นผู้กระทำละเมิดให้นาย ก. ได้รับบาด
เจ็บ     นาย ข. ต้องรับผิดทางอาญา และต้องรับผิดฐานกระทำละเมิด ต้องใช้ใช้ค่าเสียหายให้นาย ก.
นาย ข. จึงได้ชื่อว่าตกเป็นลูกหนี้นาย ก. นับแต่วันที่ตีนาย ก.    แต่นาย ข.ไม่อยากถูกฟ้องคดี เพราะ
กลัวเสียเงินว่าจ้างทนายความ    จึงไปขอเจรจาชดใช้หนี้ที่ตัวเองได้กระทำลงไป   ถ้านาย ก. เรียกค่า
เสียหาย ๑๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท  นาย ข. ต่อลองลงมาเหลือ ๕๐ บาท    ถ้าตกลงกันเรื่องก็จบ   แต่การตกลง
ด้วยปากเปล่าๆ ยังไม่มีความน่าเชื่อถือ    นาย ข. จึงต้องทำสัญญาเพื่อไม่ให้ นาย ก. ฟ้องคดีทั้งทางแพ่ง
และทางอาญา เพื่อความมั่นใจและให้มีผลตามกฎหมายด้วย ( แต่ถ้านาย ข. ไม่กลัวเสียเงินและไม่กลัว
ถูกฟ้อง ก็จะไม่มี การเจรจากัน)

   จากตัวอย่างดูๆ แล้วก็ไม่มีอะไร ทำไม่ถึงต้องมีกฎหมายเรื่องการประนอมหนี้ด้วย   ที่เป็นเช่นนี้ก็คง
เป็นเพราะเรื่องการสัญญากันมากกว่า     ในคดีบางเรื่องมีการเรียกร้องกันมากจนเกินไป หรืออีกฝ่าย
ไม่เสียหายจริง หรือโกงกับแบบหน้าด้านๆ เช่า ปลอมเอกสารมาฟ้อง    แต่อีกฝ่ายกลัวว่าสู่แล้วจะแพ้คดี
จึงยอมความกันดีกว่า

    กรณีดังกล่าวนักกฎหมายถือว่าไม่มีความเป็นธรรมเลย     จึงได้มีกฎหมายบัญญัติขึ้นมาเพื่อให้
ความเป็นธรรมทั้งสองฝ่าย   โดยเฉพาะเรื่องการทำสัญญาซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด จะได้เปรียบเสีย
เปรียบกันก็อยู่ที่ตรงนี้ จึงได้มีกฎหมายการประนีประนอมกันเกิดขึ้น

   เมื่อมีหนี้กันแล้วถ้าฝ่ายใดไม่อยากฟ้องคดี หรือถูกฟ้องคดี ก็จะมีการตกลงเจรจากัน แต่การเจรจา
กันนี้ย่อมไม่มีใครที่อยากจะเสียเปรียบด้วยกันทั้งนั้น และกฎหมายกำหนดว่าคู่กรณีสามารถประนี
ประนอมยอมความกันได้     แต่ต้องอยู่ในขอบเขตที่กฎหมายจะบังคับให้ได้เท่านั้น    เพื่อความเป็น
ธรรม ( แต่ถึงอย่างไรก็ยังมีการ เอาเปรียบโดยใช้ชั้นเชิงทางกฎหมายอยู่ดี )

   การประนีประนอมยอมความ จึงเป็นวิธีที่ดีที่สุดสำหรับลูกหนี้กับเจ้าหนี้    คู่กรณีที่มีปัญหากันไม่ว่า
จะเป็นปัญหาใดๆ ก็ตาม  จะเล็กหรือใหญ่โตแค่ไหน  คู่กรณีสามารถเจรจาประนีประนอมกันได้ตลอด
เวลา ( ก่อนฟ้องตดี  ในระหว่างฟ้องคดีต่อศาล   หลังฟ้องคดีที่ศาลมีคำพิพากษาแล้ว )   บางกรณีก็เรียก
ว่า " การรับสภาพหนี้ " หรือ " ปรับโครงสร้างหนี้ "   มีกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ ๓    เอกเทศ
สัญญา ลักษณะ ๑๗ ประนีประนอมยอมความ มาตรา ๘๕๐ - ๘๕๒ . กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
มาตรา ๒๐ - ๒๐ ทวิ รับรอง

   แต่การประนีประนอมยอมไม่อาจทำได้ในบางกรณี เช่น " ถ้าความตกลงใดๆ ต้องไม่ขัดต่อความ
สงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน .. ความตกลงนั้นไม่อาจบังคับได้ "
เรื่องนี้มีกฎหมายรับ
รองได้เช่นกัน

     ตัวอย่าง
      ถ้ามีการขู่บังคับให้จำยอมต้องประทำสัญญาประนีประนอม ข้อสัญญาต่างๆ ที่คู่กรณีอีกฝ่ายทำขึ้น
ไม่สามารถใช้บังคับได้   ลูกหนี้หรือคู่กรณีสามารถปฏิเสธหนี้นั้นได้ตามกฎหมาย แต่ต้องปฏิเสธภาย
ในอายุความของกฎหมายด้วย     ถ้าเลยอายุความที่กฎหมายกำหนดแล้วถือว่าคู่ความยอมรับข้อ
สัญญานั้น

   การปฏิเสธสัญญาประนีประนอมที่ไม่ชอบอาจทำได้หลายกรณี   หลังจากที่รู้ว่าถูกหลอก ให้ฝ่ายที่
ถูกหลอกบอกเลิกสัญญานั้นเป็นหนังสือกับอีกฝ่าย   โดยอ้างเหตุ ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายก่อนมีการ
ทำสัญญาเรียกว่า " บอกล้างโมฆียะกรรม ( ปพพ. ๑๗๕ ) "   เพื่อให้ข้อตกลง หรือสัญญานั้นไม่อาจ
ใช้บังคับได้อีกต่อไป

   ในบางกรณีอาจต้องฟ้องต่อศาลเพื่อให้สัญญาประนีประนอมนั้นเป็นโมฆะ แต่ต้องขึ้นอยู่กับ
เหตุผลและกรณีจำเป็นรีบด่วน   การบอกกล่าวนั้นลูกหนี้ต้องทำได้ภายใน ๑ ปี หรือ ๑๐ ( ปพพ.
๑๘๑ )   นับแต่วันที่ได้รู้ว่าเป็นโมฆะ
    คู่สัญญาฝ่ายที่ถูกบอกเลิกสัญญาต้องฟ้องได้ภายใน ๑ ปี
เท่านั้น ( ปพพ. ๑๗๖ ) นับแต่วันที่ได้รู้การบอกเลิก    ถ้าไม่ฟ้องภายใน ๑ ปี จะนำมาฟ้องไม่ได้
ถือว่าคดีขาดอายุความแล้ว หมดสิทธิตามกฎหมาย

วิธีประนอมหนี้ มีกฎหมายรับรองไว้อย่างไร

   ลูกหนี้ที่ถูกทวงหนี้แบบมหาโหดจากพวกที่อ้าวว่าเป็นตัวแทนเจ้าหนี้   ท่านไม่ต้องไปกลัวคำขู่
ต่างๆนาๆ ของพวกนี้อีกแล้ว  กฎหมายมีช่องทางให้เอาพวกนี้เข้าคุกได้ หรือไม่ให้พวกนี้โทรมาทวง
หนี้ที่บ้านและที่ทำงานได้  และถ้าขืนยังมาทวงหนี้อีกแจ้งความจับได้เลย   ( ดูรายละเอียด ) >>>

คำเตือนสำหรับเจ้าหนี้

  เจ้าหนี้ที่ชอบจ้างทนายความหรือผู้รับมอบอำนาจไปประนีประนอมยอมความ   และพวกที่ไป
เจรจาไปทำการใช้เล่ห์กลหลอกให้ลูกหนี้ทำสัญญาประนีประนอมนอกศาล หรือก่อนฟ้อง  ระวังให้ดี
จะมาบอกภายหลังว่าไม่รู้ไม่ได้แล้ว ( ต้องรับผิดร่วมด้วย อาจถึงติดคุกด้วย )

  ในการเจรจาทุกครั้งอย่าใช้อารมย์โดยเด็ดขาด จงสำนึกอยู่ตลอดเวลาว่า   ถึงแม้ว่าจะเป็น
ฝ่ายถูก หรือได้เปรียบในทางกฎหมาย ขอให้คิดเสียว่าตัวเองเสียเปรียบ    เพราะถ้าตกลงกันไม่ได้
ต่างฝ่ายต่างต้องไปว่าจ้างทนายความไปฟ้องและต่อสู้คดี   และในการต่อสู้คดีนั้นไม่ใช้ว่าฝ่ายที่ได้
เปรียบ ทางกฎหมาย จะเป็นฝ่ายชนะคดีเสมอไป    มีเทคนิคการใช้กฎหมายอีกมากที่มีน้อยคนที่จะ
รู้อาจเป็นฝ่ายแพ้คดีก็ได้ และถ้าแพ้คดีแล้ว ต้องกลับมาลูกหนี้ใช้หนี้ให้กับลูกหนี้ของตัวเองนะ
เรียกกันทั่วไปว่า " หนี้ก็ไม่ได้ แถมกลับต้องมาเสียเงินอีก "

  ถ้าใครรู้ว่าตัวเองผิด ควรรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้ในความผิดที่ตัวเองก่อขึ้น   ถ้าเห็นว่ามาก
เกิดไปก็ควรถามผู้รู้กฎหมายว่าเท่าใดถึงจะสมควรจะดีที่สุด

  การเจรจาถ้าผู้ที่จะไปรู้ตัวว่าไม่อาจจะเจอคู่กรณีอีกฝ่าย   เดี๋ยวจะอดใจ ??? ไม่ไหว ขอให้หา
มืออาชีพไปด้วยจะดี    หรือให้มืออาชีพไปเองก็ได้    ( พวกมืออาชีพอาจได้ข้อมูล   หลักฐานดีๆ ก็ได้ )

  สิ่งที่ทุกคนควรรู้ไว้  ( เทคนิคทางกฎหมายมีมากมาย  ต้องใช้ให้ถูกที่ถูกเวลาเท่านั้น   ถึงจะเป็น
ประโยชน์แก่ผู้ใช้ )
   ควรนำไปปรึกษาทนายหรือนักกฎหมายที่รู้จักใกล้บ้านหรือที่ทำงานหรือเป็น
สมาชิก S detective & lawyer   .เพื่อจะได้ไม่ให้คุกมาเยือนถึงบ้าน

ขอให้นำความรู้ที่ได้นี้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ขอให้ท่านโชคดี

จะทำอะไรขอให้ปรึกษาผู้รู้กฎหมายหรือทนายความปลอดภัยที่สุด

  ยินดีให้คำปรึกษากับทุกคนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม เขียนข้อความได้ที่นี่ >>>

 
 
 
เมนต์หลัก

 
 

 

ขณะนี้มีคน online อยู่ 36 ท่าน