TV Online ทุกวันเวลา ๑๐.๐๐-๒๒.๐๐ น.

 ชมรมคนปลดหนี้ & ล้มบนกองฟูก
- ต้องการให้ช่วยแก้ปัญหาหนี้ ถูกทวงหนี้ นายจ้างเอาเปรียบ ถูกให้ออกจากงาน อยากล้มบนกองฟูก
- เราจะช่วยท่านปลดหนี้(ชักดาบ)ตามวิธีทางกฎหมาย

หนี้ บัตรเครดิต แก้ปัญหาหนี้ ชมรมปลดหนี้ ถูกทวงหนี้
  หน้าเว็บหลัก      หน้าหลักบอร์ด      ตั้งคำถาม      ค้นหา      สมัครเข้าชมรมคนปลดหนี้   
สมาชิกบอร์ด ออนไลน์ 23 ท่าน  
:: สมาชิกเข้าระบบ | ชื่อเข้าระบบ :: รหัสผ่าน :
:: ผู้ดูแลระบบ เฉพาะเจ้าหน้าที่ดูแลระบบเท่านั้น
ร่วมแสดงความคิดเห็นในหัวข้อ ย้อนกลับ | ถัดไป
  • ปวิพ.มาตรา 286 พนักงานบริษัท เอกชน และ รัฐวิสาหกิจ เงินประจำตำแหน่งของข้าราชการจึงมิใช่เงินเดือนสามารถอายัดได้ ยกเว้นข้าราชการ ที่อายัดไม่ได้ เพราะว่าเงินเดือนใช้งบประมาณแผ่นดิน ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ หรือลูกจ้างในหน่วยราชก

    พนักงานบริษัท เอกชน และ รัฐวิสาหกิจ สามารถอายัดได้ ยกเว้นข้าราชการ  ที่อายัดไม่ได้ เพราะว่าเงินเดือนใช้งบประมาณแผ่นดิน  ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ หรือลูกจ้างในหน่วยราชการ ไม่สามารถอายัดเงินเดือน ฯ ได้ เป็นไปตาม

    ปวิพ.มาตรา 286 ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งกฎหมายอื่น เงินหรือสิทธิเรียกร้องเป็นเงินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาต่อไปนี้ ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี
    (1) เบี้ยเลี้ยงชีพซึ่งกฎหมายกำ หนดไว้และเงินรายได้เป็นคราว ๆ อันบุคคลภายนอกได้ยกให้เพื่อเลี้ยงชีพ เป็นจำนวนรวมกันไม่เกินเดือนละหนึ่งหมื่นบาทหรือตามจำนวนที่ศาลเห็นสมควร
    (2) เงินเดือน ค่าจ้าง บำนาญ บำเหน็จ เบี้ยหวัด หรือรายได้อื่นในลักษณะเดียวกันของข้าราชการ เจ้าหน้าที่ หรือลูกจ้างในหน่วยราชการ และเงินสงเคราะห์ บำนาญ หรือบำเหน็จที่หน่วยราชการได้จ่ายให้แก่คู่สมรสหรือญาติที่ยังมีชีวิตของบุคคลเหล่านั้น
    (3) เงินเดือน ค่าจ้าง บำนาญ ค่าชดใช้ เงินสงเคราะห์ หรือรายได้อื่นในลักษณะเดียวกันของพนักงาน ลูกจ้าง หรือคนงาน นอกจากที่กล่าวไว้ใน (2) ที่นายจ้างจ่ายให้แก่บุคคลเหล่านั้น หรือคู่สมรส หรือญาติที่ยังมีชีวิตของบุคคลเหล่านั้น เป็นจำนวนรวมกันไม่เกินเดือนละหนึ่งหมื่นบาท หรือตามจำนวนที่ศาลเห็นสมควร
    .....

    เงินเดือนข้าราชการไม่อยู่ในข่ายแห่งการบังคับคดี ดังนั้นหากดำเนินการไปโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมายก็คัดค้านไปยังสำนักงานบังคับคดีได้

    พ.ร.บ.เงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง พ.ศ.2538 มาตรา 12 วรรคสาม บัญญัติไว้ว่า เงินประจำตำแหน่งไม่ถือเป็นเงินเดือน ดังนั้น เงินประจำตำแหน่งของข้าราชการจึงมิใช่เงินเดือนในความหมายของเงินเดือนของข้าราชการหรือลูกจ้างของรัฐบาล ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 286 (2) โจทก์ย่อมบังคับคดีได้

     

    บังคับคดีสามารถจะอายัดเงินเดือนได้

     1.   ถ้าลูกหนี้เป็นข้าราชการ/ลูกจ้างประจำของข้าราชการจะอายัดเงินเดือนไม่ได้
                   ถ้าลูกหนี้เป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจทุกแห่ง หรือเป็นพนักงานบริษัท ฯลฯ สามารถอายัดเงินเดือน

    การอายัดเงินเดือนค่าจ้าง ของกรมบังคับคดีมีหลักเกณฑ์ดังนี้
           1.   เงินเดือนค่าจ้าง อายัดไม่เกิน 30 % โดยมีหลักเกณฑ์ดังนี้
              1.1.   ลูกหนี้เงินเดือนไม่ถึง 10,000 บาท --- ห้ามไม่ให้อายัด
              1.2.   ลูกหนี้ที่มีเงินเดือนค่าจ้างเกิน 10,000 บาท สามรถอายัดได้ไม่เกิน 30 %
    แต่จะต้องเหลือเงินให้ลูกหนี้ใช้จ่ายไม่ต่ำกว่า 10,000 บาท เช่น
    - ลูกหนี้เงินเดือน 9500 บาท ไม่สามารถอายัดได้
    - ลูกหนี้เงินเดือน12000 บาท จะอายัดได้ 2000 บาท เพราะต้องเหลือไว้ใช้จ่าย 10000 บาท
    - ลูกหนี้เงินเดือน 15000 บาท จะอายัดได้ 4500 บาท เพราะต้องเหลือไว้ใช้จ่าย 10500 บาท
              
    1.3.   หากลูกหนี้มีค่าใช้จ่ายจำเป็นอื่นๆ เช่น ค่าเลี้ยงดูบุตร   ค่ารักษาพยาบาล ฯลฯ
    สามารถนำหลักฐานไปขอลดหย่อนที่กรมบังคับคดีเพื่อให้ลดเปอร์เซ็นต์การอายัดเงินเดือนได้

              1.4.   การอายัดเงินเดือนจะให้บริษัทนำส่งหรือลูกหนี้นำส่งกรมบังคับคดีเองก็ได้
           2.   เงินโบนัส จะถูกอายัด 50 %
           3.   เงินตอบแทนการออกจากงาน จะถูกอายัด 100 %
           4.   เงินค่าตอบแทนหรือค่าสวัสดิการต่างๆ เช่น ค่าน้ำมัน ค่าที่พัก ค่าน้ำ  ค่าไฟ  

       ค่าตำแหน่ง    การถูกอายัดจะขึ้นอยู่กับว่าเจ้าหนี้จะสืบทราบหรือไม่

       และเจ้าหนี้ร้องขอต่อศาลว่าจะอายัดเท่าไหร่
           5.   บัญชีเงินฝาก ---อายัดได้
           6.   เงิน กบข.และเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ทำกับบริษัท --- อายัดไม่ได้
           7.   ถ้าทำกองทุนต่างๆกับธนาคารต้องดูตามหลักเกณฑ์ของกองทุนว่าเป็นทรัพย์สินของลูกหนี้หรือไม่

       และมีข้อห้ามการบังคับคดีหรือไม่    ถ้าเป็นทรัพย์สินของลูกหนี้และไม่มีข้อห้ามก็จะอายัดได้
           8.   เงินค่าวิทยะฐานะ (ค่าตำแหน่งทางวิชาการ) มีหลักเกณฑ์ดังนี้
                8.1.   ถ้าเป็นข้าราชการจะไม่ถูกอายัด
                8.2.   ถ้าเป็นสังกัดเอกชนจะถูกอายัด เพราะถือว่าเป็นเงินเดือน
           9.   หุ้น ---กรมบังคับคดีสามารถยึดใบหุ้นเพื่อขายทอดตลาดได้ หรือถ้ามีเงินปันผล

       ก็จะทำเรื่องอายัดเงินปันผลได้
          10.   เงินสหกรณ์ ไม่ว่าจะเป็นข้าราชการหรือพนักงานบริษัท   เจ้าหนี้สืบสามารถอายัดเงินปันผล

        เงินเฉลี่ยคืน เงินค่าหุ้นสหกรณ์ได้
          11.   ถ้าลูกหนี้ร่วมทุนกับผู้อื่นเปิดบริษัท ห้างร้าน กรมบังคับคดีจะอายัดเฉพาะส่วนที่เป็นทรัพย์สินของผู้ถูก          

        อายัดเท่านั้น จะอายัดส่วนของผู้อื่นไม่ได้  โดยอาจดูเฉพาะส่วนของเงินปันผล ใบหุ้น ฯลฯ ของผู้ถูกอายัด

     

    ลูกหนี้จะต้องปฏิบัติ เมื่อศาลตัดสินแล้ว


                ลูกหนี้จะต้องติดต่อทนายโจทก์เพื่อตกลงกันว่าจะมีการจ่ายชำระหนี้ตามคำพิพากษาอย่างไร เช่น

    จะผ่อนชำระเป็นงวดๆ หรือจ่ายงวดเดียว
                หากลูกหนี้ไม่ติดต่อไป    ไม่ยอมจ่ายเงิน    หรือตกลงเรื่องการจ่ายเงินไม่ได้
    ทนายโจทก์ก็จะทำเรื่องขอยึดทรัพย์หรืออายัดเงินเดือน ไปที่สำนักงานบังคับคดี
    สิ่งสำคัญที่ลูกหนี้ทั้งหลายจำไว้

    1.   หากเจ้าหนี้รายแรกขออายัดเงินเดือนแล้ว    เจ้าหนี้รายที่สอง สาม สี่...จะทำเรื่องขออายัดซ้ำไม่ได้     ต้องรอคิวจนกว่ารายแรกชำระหนี้จนครบก่อน   

    2.   เจ้าหนี้รายที่สอง สาม สี่...จะขอหารส่วนแบ่งเงินที่ถูกอายัดจากเจ้าหนี้รายแรกก็ได้       เพราะถ้ารอเกินสิบปีก็จะหมดอายุความ   หมดสิทธิเรียกชำระหนี้

    สิ่งลูกหนี้จะต้องปฏิบัติ กรณีเจ้าหนี้รายที่สอง สาม สี่ .....ขออายัดซ้ำ

    เมื่อ ได้รับหนังสือจากสำนักงานบังคับคดีของเจ้าหนี้รายที่สอง สาม สี่ .....    ลูกหนี้จะต้องนำหนังสือจากสำนักงานบังคับคดีของเจ้าหนี้รายแรกไปยื่นที่ สำนักงานบังคับคดีของเจ้าหนี้รายที่สอง สาม สี่ ...ที่ออกหนังสือมานั้น   เพื่อแจ้งขอระงับอายัดเงินเดือนไว้ก่อนเป็นคิวถัดไป    นอกจากนี้อย่าลืมดูข้อ 1.3 ด้วย

     

    “ส่วน ของฝากสำหรับเจ้าหนี้ที่คิดอกเบี้ยเกินกฎหมายกำหนด   ลูกหนี้สามารถรวมตัวกันยื่นฟ้องศาล    ท่านจะมีโทษติดคุก    ส่วนลูกหนี้ก็จะชำระเฉพาะเงินต้นเท่านั้น  

     

    มาตรา 286 ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งกฎหมายอื่น เงินหรือสิทธิเรียกร้องเป็นเงินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาต่อไปนี้ ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี
    (1) เบี้ยเลี้ยงชีพซึ่งกฎหมายกำ หนดไว้และเงินรายได้เป็นคราว ๆ อันบุคคลภายนอกได้ยกให้เพื่อเลี้ยงชีพ เป็นจำนวนรวมกันไม่เกินเดือนละหนึ่งหมื่นบาทหรือตามจำนวนที่ศาลเห็นสมควร
    (2) เงินเดือน ค่าจ้าง บำนาญ บำเหน็จ เบี้ยหวัด หรือรายได้อื่นในลักษณะเดียวกันของข้าราชการ เจ้าหน้าที่ หรือลูกจ้างในหน่วยราชการ และเงินสงเคราะห์ บำนาญ หรือบำเหน็จที่หน่วยราชการได้จ่ายให้แก่คู่สมรสหรือญาติที่ยังมีชีวิตของบุคคลเหล่านั้น
    (3) เงินเดือน ค่าจ้าง บำนาญ ค่าชดใช้ เงินสงเคราะห์ หรือรายได้อื่นในลักษณะเดียวกันของพนักงาน ลูกจ้าง หรือคนงาน นอกจากที่กล่าวไว้ใน (2) ที่นายจ้างจ่ายให้แก่บุคคลเหล่านั้น หรือคู่สมรส หรือญาติที่ยังมีชีวิตของบุคคลเหล่านั้น เป็นจำนวนรวมกันไม่เกินเดือนละหนึ่งหมื่นบาท หรือตามจำนวนที่ศาลเห็นสมควร
    .....

    เงินเดือนข้าราชการไม่อยู่ในข่ายแห่งการบังคับคดี ดังนั้นหากดำเนินการไปโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมายก็คัดค้านไปยังสำนักงานบังคับคดีได้

     

    เงินขวัญถุงที่ข้าราชการได้รับจำนวน 7 เท่า ของเงินเดือนตาม พ.ร.ฎ. เงินช่วยเหลือผู้ซึ่งลาออกจากราชการก่อนเกษียณอายุ พ.ศ. 2542 มาตรา 8 เป็นส่วนหนึ่งของเงินที่ทางราชการจ่ายเพื่อช่วยเหลือข้าราชการที่ลาออกก่อนเกษียณอายุราชการ ถือได้ว่าเป็นเงินบำเหน็จ ซึ่งไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 286 (2)

     เนื่องจาก พ.ร.บ.เงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง พ.ศ.2538 มาตรา 12 วรรคสาม บัญญัติไว้ว่า เงินประจำตำแหน่งไม่ถือเป็นเงินเดือน ดังนั้น เงินประจำตำแหน่งของข้าราชการจึงมิใช่เงินเดือนในความหมายของเงินเดือนของข้าราชการหรือลูกจ้างของรัฐบาล ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 286 (2) โจทก์ย่อมบังคับคดีได้

    คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2795/2546

    เนื่องจาก พ.ร.บ.เงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง พ.ศ.2538 มาตรา 12 วรรคสาม บัญญัติไว้ว่า เงินประจำตำแหน่งไม่ถือเป็นเงินเดือน ดังนั้น เงินประจำตำแหน่งของข้าราชการจึงมิใช่เงินเดือนในความหมายของเงินเดือนของข้าราชการหรือลูกจ้างของรัฐบาล ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 286 (2) โจทก์ย่อมบังคับคดีได้

     คดีสืบเนื่องมาจากโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสามร่วมกันชำระเงินจำนวน 148,223.50 บาท ตามสัญญากู้ยืมและสัญญาค้ำประกันแก่โจทก์ ต่อมาโจทก์และจำเลยทั้งสามทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลได้พิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระเงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์ จำเลยทั้งสามไม่ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความ โจทก์ขอให้บังคับคดี ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีแจ้งให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดและอายัดทรัพย์สินของจำเลยทั้งสาม เจ้าพนักงานบังคับคดีมีคำสั่งอายัดเงินประจำตำแหน่งของจำเลยที่ 2

    จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องว่า จำเลยที่ 2 เป็นข้าราชการพลเรือน สังกัดทบวงมหาวิทยาลัย ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ ระดับ 8 ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งจากเงินงบประมาณ หมวดเงินเดือนและค่าจ้างประจำ เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดเงินประจำตำแหน่งของจำเลยที่ 2 อันเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ภาค 4 ลักษณะ 2 การบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง เนื่องจากเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการเป็นเงินเดือนหรือค่าตอบแทนส่วนหนึ่งของเงินเดือน จึงไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 286 (2) ขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่อายัดเงินประจำตำแหน่งของจำเลยที่ 2

    ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า เงินประจำตำแหน่งของจำเลยที่ 2 อยู่ในความหมายของเงินเดือนของข้าราชการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 286 (2) ซึ่งไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี จึงให้เพิกถอนคำสั่งอายัดเงินประจำตำแหน่งของจำเลยที่ 2

    โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิ

    ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า เงินประจำตำแหน่งของจำเลยที่ 2 อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีหรือไม่ เห็นว่า คำว่าเงินประจำตำแหน่งนั้น ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการการจ่ายเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการและผู้ดำรงตำแหน่งผู้บริหารซึ่งไม่เป็นข้าราชการ พ.ศ.2539 มาตรา 3 หมายความว่า เงินประจำตำแหน่งตามกฎหมายว่าด้วยเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งซึ่งกฎหมายที่ว่านี้ก็คือพระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง พ.ศ.2538 โดยมาตรา 12 วรรคสาม ของพระราชบัญญัติฉบับนี้บัญญัติไว้ชัดเจนว่า เงินประจำตำแหน่งไม่ถือเป็นเงินเดือน ดังนั้น เมื่อเงินประจำตำแหน่งไม่มีสภาพเป็นเงินเดือน จึงไม่อยู่ในความหมายของเงินเดือนของข้าราชการตามนัยแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 286 (2) อันจะไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี โจทก์ย่อมบังคับเอาจากเงินประจำตำแหน่งของจำเลยที่ 2 ได้ ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งอายัดเงินประจำตำแหน่งของจำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา อุทธรณ์ของโจทก์ฟังขึ้น

    ส่วนที่โจทก์อุทธรณ์ว่า จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอให้เพิกถอนคำสั่งเจ้าพนักงานบังคับคดีที่อายัดเงินประจำตำแหน่งของจำเลยที่ 2 แต่จำเลยที่ 2 เสียค่าธรรมเนียมศาลไม่ครบจึงเป็นคำขอที่ไม่ชอบนั้น เห็นว่า การร้องขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งเจ้าพนักงานบังคับคดีที่อายัดเงินประจำตำแหน่งของจำเลยที่ 2 เป็นคำขอเพื่อให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนการบังคับที่ฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งลักษณะ 2 การบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสอง ซึ่งต้องทำเป็นคำร้องและต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลตามตาราง 2 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ข้อ (3) เป็นค่าคำร้องเป็นเงิน 20 บาท และข้อ (7) เป็นค่าคำสั่งอีกเป็นเงิน 50 บาท โดยต้องชำระเมื่อยื่นคำขอต่อศาล เมื่อจำเลยที่ 2 ยื่นคำขอโดยเสียค่าธรรมเนียมศาล 20 บาท และพนักงานศาลระบุว่าเป็น "ค่าคำร้อง" ตามที่พนักงานศาลเรียกให้เสีย แม้จำเลยที่ 2 มิได้เสียค่าคำสั่งเป็นเงิน 50 บาท อันเป็นการเสียค่าธรรมเนียมศาลไม่ครบ แต่ศาลชั้นต้นรับคำร้องของจำเลยที่ 2 และมีคำสั่งชี้ขาดแล้ว เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 จงใจหลีกเลี่ยงไม่ยอมเสียค่าธรรมเนียมศาลซึ่งขาดอยู่เพียง 50 บาท ให้ครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด จึงเห็นสมควรให้โอกาสจำเลยที่ 2 เสียค่าธรรมเนียมศาลให้ครบตามตาราง 6 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

    พิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปตามรูปคดี ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นนี้ให้เป็นพับ.

    ( สดศรี สัตยธรรม - วิรัช ลิ้มวิชัย - มานะ ศุภวิริยกุล )

     


    โดย : Administrator วัน-เวลา : 12 กรกฎาคม 2554 | 20:55:37   From ip : 58.8.138.114

    ร่วมแสดงความคิดเห็น
    ชื่อผู้แสดงความคิดเห็น :
    อีเมลล์ (E-mail) :
    แสดงความคิดเห็น :
    ภาพประกอบ :




    ** สูงสุด 6 ภาพ ต่อการโพส 1 ครั้งคะ ใช้ภาพที่เป็นสกุล .jpg, .gif, .png นะคะ ชื่อไฟล์ขอเป็นภาษาอังกฤษนะคะ

    รหัสอ้างอิง :

      


    http://www.thailawyer.net/ ให้คุณมากกว่าที่คุณคิด