TV Online ทุกวันเวลา ๑๐.๐๐-๒๒.๐๐ น.

 ชมรมคนปลดหนี้ & ล้มบนกองฟูก
- ต้องการให้ช่วยแก้ปัญหาหนี้ ถูกทวงหนี้ นายจ้างเอาเปรียบ ถูกให้ออกจากงาน อยากล้มบนกองฟูก
- เราจะช่วยท่านปลดหนี้(ชักดาบ)ตามวิธีทางกฎหมาย

หนี้ บัตรเครดิต แก้ปัญหาหนี้ ชมรมปลดหนี้ ถูกทวงหนี้
  หน้าเว็บหลัก      หน้าหลักบอร์ด      ตั้งคำถาม      ค้นหา      สมัครเข้าชมรมคนปลดหนี้   
สมาชิกบอร์ด ออนไลน์ 23 ท่าน  
:: สมาชิกเข้าระบบ | ชื่อเข้าระบบ :: รหัสผ่าน :
:: ผู้ดูแลระบบ เฉพาะเจ้าหน้าที่ดูแลระบบเท่านั้น
ร่วมแสดงความคิดเห็นในหัวข้อ ย้อนกลับ | ถัดไป
  • อายุความเช่าซื้อและบัตรเครดิต ๒ ปี นับแต่วันที่ไม่ชำระหนี้ครั้งสุดท้าย
    อายุความคดีเช่าซื้อ 
    - ค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระ อายุความ 2 ปี
    - ค่าเสียหายจากการที่ผู้เช่าซื้อใช้ทรัพย์สิน อายุความ 6 เดือน
    - ค่าขาดราคา ค่าขาดประโยชน์ ค่าติดตาม เรียกให้ส่งคืนหรือใช้ราคาแทน อายุความ 10 ปี

    - ค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระ
    กฎหมายว่าด้วยการเช่าซื้อ ไม่ได้บัญญัติเรื่องอายุความเอาไว้โดยตรง แต่ค่าเช่าซื้อก็เป็นค่าเช่าในการใช้ทรัพย์สินอย่างหนึ่ง ดังนั้น หากผู้เจ้าหนี้ซึ่งเป็นพ่อค้าฟ้องเรียกร้องเอาค่าเช่าซื้อสังหาริมทรัพย์(ทรัพย์สิน) ที่ค้างชำระอยู่ จึงต้องฟ้องภายในอายุความ 2 ปี…กล่าวคือ ศาลฎีฏาท่านมองว่า เงื่อนไขในระหว่างที่ผิดนัดชำระของ “การทำสัญญาเช่าซื้อ” ก็ไม่ได้มีอะไรแตกต่างไปจากเงื่อนไขในระหว่างที่ผิดนัดชำระของ “การทำสัญญาเช่าสังหาริมทรัพย์” แบบธรรมดาทั่วไป...หากลูกหนี้ มีหนี้ค้างค่าเช่าสังหาริมทรัพย์กับเจ้าหนี้(ซึ่งมีอายุความ 2 ปี) ก็ให้นำเอา“อายุความ”เดียวกันนั้น มาใช้กับ “การทำสัญญาเช่าซื้อทรัพย์สินที่เป็นสังหาริมทรัพย์ด้วย” เช่นกัน

    กฏหมายในข้อนี้ พูดถึงเฉพาะ ค่าเช่าที่ยังค้างอยู่(หรือเรียกว่า ค่าส่งงวดในอดีตที่มันผ่านมาแล้ว แต่ลูกหนี้ยังไม่ได้จ่าย) เท่านั้น

    - ค่าเสียหายจากการที่ผู้เช่าซื้อใช้ทรัพย์สิน
    ในความหมายนี้...หมายถึง การที่ลูกหนี้ไม่ยอมผ่อนจ่ายค่างวด จนถึงขั้นที่เจ้าหนี้บอกยกเลิกสัญญา และส่งคนมายึดทรัพย์สินกลับคืนไป
    แต่เมื่อเจ้าหนี้ได้ทรัพย์สินกลับคืนมาแล้ว กลับพบว่าทรัพย์สินนั้นๆ มีความชำรุดเสียหาย และเมื่อนำเอาทรัพย์สินนั้นออกไปประมูลขายแล้ว ได้เป็นเงินกลับมาน้อยกว่ามูลค่าของทรัพย์สินที่พึงจะได้รับ(หรือเรียกว่าขายแล้วขาดทุน) เจ้าหนี้มีสิทธิ์ในการฟ้องลูกหนี้ ให้ชดใช้ค่าส่วนต่างที่ขาดทุนดังกล่าว โดยมีอายุความในการฟ้อง 6 เดือน โดยนับตั้งแต่วันที่ยึดทรัพย์สินกลับคืนมา

    กฏหมายในข้อนี้ พูดถึงเฉพาะ ส่วนต่างที่ขาดทุน จากการขายของที่ยึดกลับมาได้ เท่านั้น

    - ค่าขาดราคา ค่าขาดประโยชน์ ค่าติดตาม เรียกให้ส่งคืนหรือใช้ราคาแทน 
    ในความหมายนี้...หมายถึง ค่าใช้จ่ายใดๆที่เจ้าหนี้ต้องเสียเงินจ่ายเพิ่ม หรือเจ้าหนี้อดได้ใช้ผลประโยชน์ จากทรัพย์สินของตัวเจ้าหนี้เอง หลังจากบอกยกเลิกสัญญาแล้วเช่น

    *** ค่าติดตามทวงถามในการทวงทรัพย์สินของเจ้าหนี้คืน หลังจากที่บอกยกเลิกสัญญาแล้ว แต่ลูกหนี้ไม่ยอมคืนทรัพย์สินให้
    *** ค่าจ้างนักสืบ ในการสืบหาทรัพย์สิน ที่ลูกหนี้ไม่ยอมคืนทรัพย์สินให้กับเจ้าหนี้ หลังจากที่บอกยกเลิกสัญญาแล้ว
    *** ลูกหนี้ได้หลบหนีไปพร้อมกับทรัพย์สินนั้นๆ(ไม่ยอมคืนของให้) ทำให้เจ้าหนี้ไม่มีโอกาสที่จะได้ใช้ทรัพย์สินของตนเอง เพราะยึดทรัพย์คืนไม่ได้ (เรียกได้ว่า อดได้ใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็น...เอาไว้ใช้เอง , ให้คนอื่นเอาไปใช้แล้วเก็บค่าเช่า , หรือเอาทรัพย์นั้นไปขาย) ภาษากฏหมายเรียกว่า “ค่าขาดราคา” , “ค่าขาดผลประโยชน์” 
    เหล่านี้ทั้งหมด มีอายุความ 10 ปี 

    กฏหมายในข้อนี้ พูดถึงเฉพาะ ค่าใช้จ่ายต่างๆ , ค่าความขาดทุน , ค่าความเสียหาย จากการที่ลูกหนี้ไม่ยอมคืนของ เท่านั้น

    เกร็ดความรู้เพิ่มเติม 
    - หากลูกหนี้ไม่ยอมคืนของ เจ้าหนี้มีสิทธิ์ที่จะติดตามทวงเอาของคืนในฐานะเจ้าของทรัพย์กรรมสิทธิ์ได้ตลอด ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ไม่มีอายุความ
    - - ทรัพย์สินที่เช่าซื้อสูญหาย ลูกหนี้ต้องชำระค่าเช่าซื้อทั้งสิ้นจนครบ เพราะถือว่าเป็นการฟ้องขอให้ชำระราคาทรัพย์ที่เช่าซื้อจนครบตามสัญญา กรณีนี้ไม่ถือว่าเป็นการเรียกค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระ ใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 
    - ถ้าลูกหนี้นำทรัพย์สินไปจำหน่ายจ่ายโอน และไม่ยอมชำระเงิน ถือว่าผิดสัญญาเช่าซื้อ เจ้าของมีสิทธิ์บอกเลิกสัญญา และลูกหนี้มีความผิดอาญาฐานยักยอกทรัพย์ด้วย เนื่องจากกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน ยังเป็นของเจ้าหนี้อยู่

    โดย : Administrator วัน-เวลา : 9 พฤศจิกายน 2553 | 14:12:36   From ip : 183.89.11.31

     ความคิดเห็นที่ : 1
  • มาตรา 563 คดีอันผู้ให้เช่าจะฟ้องผู้เช่าเกี่ยวแก่สัญญาเช่านั้นท่านห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นกำหนดหกเดือนนับแต่วันส่งคืนทรัพย์สินที่เช่า

    45/26 ตามสัญญาเช่าซื้อมีว่า เมื่อจำเลยผิดสัญญาจำเลยจะต้องชดใช้ราคารถก็ต่อเมื่อจำเลยไม่มอบคืนรถให้โจทก์ โจทก์ยึดรถคืนแล้วและนำไปขายโจทก์จะฟ้องเรียกราคารถที่ยังขาดอีกไม่ได้ เป็นการเรียกเอาราคารถสองต่อซึ่งไม่เป็นธรรมแก่จำเลยการเรียกราคาส่วนที่ขาดหากจะถือว่าเป็นค่าเสียหายที่ใช้รถของโจทก์ชำระบุบสลาย ค่าเสียหายส่วนนี้มีอายุความ 6 เดือน ตาม ม.563

    ตาม ป.พ.พ. ม.574เมื่อเลิกสัญญาเช่าซื้อแล้ว เจ้าของทรัพย์สินที่ให้เช่าซื้อมีสิทธิริบเงินที่ผู้เช่าซื้อส่งใช้มาแล้ว และกลับเข้าครอบครองทรัพย์สินเท่านั้น เรียกเอาค่าเช่าซื้อที่ค้างหาได้ไม่ดังนั้น โจทก์ผู้ให้เช่าซื้อเรียกได้เฉพาะค่าเสียหายอันเนื่องจากจำเลยผิดสัญญาเช่าซื้อเท่านั้น ซึ่งได้แก่ค่าขาดประโยชน์เพราะจำเลยยังใช้รถยนต์คืนมาแล้ว ปรากฏว่ารถยนต์เสียหายเพราะเหตุอื่นอันจำเลยต้องรับผิดนอกเหนือไปจากความเสียหายอันเกิดแต่การใช้รถนั้นโดยชอบ โจทก์ก็มีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเพื่อเหตุนี้ด้วย

    ------------------------------------------------------------------------------------------

    ค่าเช่าซื้อเครื่องรับโทรทัศน์อายุความ 2 ปี

     กฎหมายว่าด้วยการเช่าซื้อ ไม่ได้บัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยตรง แต่ค่าเช่าซื้อก็เป็นค่าเช่าในการใช้ทรัพย์สินอย่างหนึ่ง ดังนั้น หากผู้ให้เช่าซื้อซึ่งเป็นพ่อค้าฟ้องเรียกร้องเอาค่าเช่าซื้อสังหาริมทรัพย์(เครื่องรับโทรทัศน์) ที่ค้างชำระอยู่ จึงต้องฟ้องเสียภายในอายุความ 2 ปี ไม่ใช่10 ปี

    คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3358/2530

    ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ลักษณะ 5 ว่าด้วยการเช่าซื้อ ไม่ได้บัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยตรง แต่ค่าเช่าซื้อก็เป็นค่าเช่าในการใช้ทรัพย์สินอย่างหนึ่ง ดังนั้น หากผู้ให้เช่าซื้อซึ่งเป็นพ่อค้าฟ้องเรียกร้องเอาค่าเช่าซื้อสังหาริมทรัพย์(เครื่องรับโทรทัศน์) ที่ค้างชำระอยู่ จึงต้องฟ้องเสียภายในอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(6) ไม่ใช่10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164.

    คดีสืบเนื่องมาจากศาลมีคำสั่งให้พิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้(จำเลย) เด็ดขาดแล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้สอบสวนหนี้สินของลูกหนี้ (จำเลย) และพบว่าผู้ร้องเป็นหนี้ค่าเช่าซื้อเครื่องรับโทรทัศน์ลูกหนี้ (จำเลย) อยู่ 6,020 บาทผู้ร้องปฏิเสธหนี้ แต่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยืนยันหนี้นั้น

    ผู้ร้องยื่นคำร้องว่า ผู้ร้องชำระหนี้ค่าเช่าซื้อเครื่องรับโทรทัศน์ครบถ้วนแล้ว และหากยังคงต้องชำระ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็ไม่อาจใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ (จำเลย) ได้ เพราะขาดอายุความ

    เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยื่นคำคัดค้านว่า ผู้ร้องยังคงค้างชำระค่าเช่าซื้อเครื่องรับโทรทัศน์อยู่ และสิทธิเรียกร้องในกรณีเช่นนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยตรงต้องถืออายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164

    ศาลชั้นต้นฟังว่า ผู้ร้องค้างชำระค่าเช่าซื้ออยู่เป็นเงิน6,020 บาท จึงมีคำสั่งให้ยกคำร้อง

    ผู้ร้องอุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมาย

    ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า สิทธิเรียกร้องของจำเลยโดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขาดอายุความแล้ว พิพากษากลับ ให้จำหน่ายชื่อผู้ร้องออกจากบัญชีลูกหนี้

    เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ฎีกา

    ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติตามที่ศาลชั้นต้นฟังมาว่า ลูกหนี้ (จำเลย) เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดผู้ประกอบธุรกิจการค้าเกี่ยวกับการการให้เช่าซื้อเครื่องรับโทรทัศน์ ผู้ร้องทำสัญญาเช่าซื้อเครื่องรับโทรทัศน์จากลูกหนี้ (จำเลย) และค้างชำระค่าเช่าซื้อมาตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน 2522 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เรียกร้องให้ผู้ร้องชำระค่าเช่าซื้อเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2527 คดีมีปัญหาชั้นฎีกาว่า สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ (จำเลย) คดีนี้ขาดอายุความหรือไม่

    พิเคราะห์แล้วเห็นว่า ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ลักษณะ 5ว่าด้วยเช่าซื้อ มิได้บัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยตรง แต่ค่าเช่าซื้อก็เป็นค่าเช่าในการใช้ทรัพย์สินอย่างหนึ่ง ลูกหนี้(จำเลย) ผู้ให้เช่าซื้อซึ่งเป็นบุคคลจำพวกที่ค้าในการให้เช่าซื้อเครื่องรับโทรทัศน์อันเป็นสังหาริมทรัพย์ชอบที่จะต้องบังคับตามสิทธิเรียกร้องเอาค่าเช่าซื้อดังกล่าวเสียภายใน 2 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 105 (6) เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าลูกหนี้ (จำเลย) มิได้บังคับตามสิทธิเรียกร้องนี้ภายในกำหนดเวลาสองปี สิทธิเรียกร้องดังกล่าวก็ตกเป็นอันขาดอายุความ ส่วนอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164 นั้น เป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น จะนำมาปรับกับคดีนี้หาได้ไม่ ฎีกาของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ฟังไม่ขึ้น

    พิพากษายืน.

    ( คำนึง อุไรรัตน์ - ดุสิต วราโห - สวัสดิ์ รอดเจริญ 


    โดย : Administrator  วัน - เวลา : อังคาร 9 พฤศจิกายน 2553 | 14:37:05   From ip : 183.89.11.31

     ความคิดเห็นที่ : 2
  •   เช่าซื้อ คือสัญญาที่เจ้าของทรัพย์เอาทรัพย์ออกให้เช่าและให้คำมั่นสัญญาว่าจะขายทรัพย์สินนั้น หรือว่าจะให้
      ทรัพย์สินนั้นตกเป็นสิทธิ์แก่ผู้เช่า โดยเงื่อนไขที่ผู้เช่าได้ใช้เงินเป็นจำนวนตามสัญญาที่กำหนดไว้ในสัญญาเช่าซื้อ 
      สัญญาเช่าซื้อจะมีผลบังคับทางกฎหมายเมื่อคู่สัญญาทั้ง 2 ฝ่าย ลงลายมือชื่อในสัญญาเช่าซื้อ โดยมีหลักเกณฑ์ คือ

                    1.  ผู้ให้เช่าซื้อต้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธ์ในทรัพย์สินที่ให้เช่าซื้อ
                    2.  ผู้ให้เช่านำทรัพย์สินของตนให้ผู้เช่าซื้อไปใช้ประโยชน์
                    3.  ผู้ให้เช่าซื้อให้คำมั่นสัญญาว่าจะขายทรัพย์สินนั้นให้กับผู้เช่าซื้อ หรือให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นกรรมสิทธิ์
      ของผู้เช่าซื้อ

                    4.  ผู้เช่าซื้อจะต้องชำระค่าเช่าซื้อ เป็นคราว ๆ หรืองวดจนครบตามที่ตกลงกันให้แก่ผู้ให้เช่าซื้อ

    ตัวอย่าง นายมะนาวเช่าซื้อโทรศัพท์มือถือของร้านนายมะกรูด ราคา 10,000 บาท โดยตกลงทำสัญญา
      เช่าซื้อ และชำระค่าเช่าซื้อ  รวม 10 งวด แต่เมื่อชำระค่าเช่าซื้อได้ 2 งวด นายมะนาวได้นำโทรศัพท์มือถือไปขายต่อ
      ให้นายมะพร้าว ในราคา 5,000 บาท การทำ เช่นนี้ นายมะพร้าวย่อมไม่ได้กรรมสิทธิ์เพราะในกรรมสิทธิ์ของโทรศัพท์
      มือถือยังเป็นของนายมะกรูดยังไม่ได้โอนมายังนายมะนาว นายมะพร้าวจึงไม่มีสิทธิ์นำไปจำหน่าย  ดังนั้น การกระทำ   ของนายมะนาวจึงเป็นความผิดต่อกฎหมายอาญาฐานยักยอกทรัพย์ โดยนายมะกรูด สามารถติดตามเอาโทรศัพท์มือถือ   คืนจากนายมะพร้าวได้โดยไม่ต้องไถ่คืนแต่อย่างใด แต่ถ้าเป็นกรณีที่นายมะกรูดได้ขาย   สินค้า คือ โทรศัพท์มือถือ
      แบบเงินผ่อนแก่นายมะนาว กรรมสิทธิ์ย่อมตกเป็นของนายมะนาวแล้วทันทีที่ได้รับมอบสินค้าซึ่งนายมะนาวสามารถ   นำไปขายต่อนายมะพร้าวได้โดยนายมะกรูด เจ้าของร้านไม่สามารถติดตามเอาคืนได้ นอกจากเรียกให้นายมะนาว
      ชำระค่าโทรศัพท์มือถือที่ค้างอยู่เท่านั้น

    โดย : Administrator  วัน - เวลา : อังคาร 9 พฤศจิกายน 2553 | 16:33:26   From ip : 183.89.11.31

    ร่วมแสดงความคิดเห็น
    ชื่อผู้แสดงความคิดเห็น :
    อีเมลล์ (E-mail) :
    แสดงความคิดเห็น :
    ภาพประกอบ :




    ** สูงสุด 6 ภาพ ต่อการโพส 1 ครั้งคะ ใช้ภาพที่เป็นสกุล .jpg, .gif, .png นะคะ ชื่อไฟล์ขอเป็นภาษาอังกฤษนะคะ

    รหัสอ้างอิง :

      


    http://www.thailawyer.net/ ให้คุณมากกว่าที่คุณคิด